ต้นกระดาษปรับปรุงพันธุ์ มาอย่างยาวนานโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่ร่วมกันคิดค้นสายพันธุ์ เพื่อให้เกษตรกรนำไปปลูกบนคันนาได้ โดยไม่มีผลกระทบต่อพืชอื่นที่ปลูกร่วมกัน
พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้เหมาะสมกับการปลูกของเกษตรกร ในแต่ละพื้นที่
ต้นกระดาษปรับปรุงพันธุ์ ด้วยวิธีธรรมชาติที่เรียกว่า Conventional Breeding (ไม่ได้เป็น GMO!) >> เป็นการสืบพันธุ์แบบใช้เพศ โดยการคัดเลือกละอองเกสรตัวผู้ไปผสมบนยอดเกสรตัวเมีย เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิภายในรังไข่ และพัฒนาจนได้เมล็ดสำหรับนำไปปลูกทดสอบ
- จับคู่ผสมระหว่างพ่อ-แม่พันธุ์ดีหลายๆ สายพันธุ์ ปลูกทดสอบและคัดเลือกพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีลักษณะดีตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการ จึงจะนำไปขยายพันธุ์เพื่อนำไปให้เกษตรกรปลูกบนคันนา
- พื้นฐานของการพัฒนาสายพันธุ์ คือ การรวบรวมเอาลักษณะที่ดีมาไว้ในต้นเดียวกัน กำจัดข้อด้อยที่มีมาแต่เดิมออกไป
- กระบวนการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ของต้นกระดาษ แต่ละรอบ/ แต่ละสายต้นย่อยๆ ใช้เวลาตั้ง แต่ “10 – 15 ปี”
- เมื่อได้สายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติดี อาทิ ทนแล้ง ทนโรคทนแมลง ผ่านการปลูกทดสอบแล้ว จึงนำมาขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือ Tissue Culture Technology
ต้นกระดาษปรับปรุงพันธุ์ จนมีหลากหลายสายพันธุ์ย่อย ซึ่งถูกพัฒนามาให้สอดคล้องกับสภาพพื้น ที่ สภาพอากาศที่แตกต่างกัน และยังคงมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ได้ต้นกล้าคุณภาพที่ “ปลูกง่ายดูแลง่าย ทนโรค ทนแมลง” ที่สำคัญ “ไม่ทำลายดิน ไม่ลดผลผลิตข้าว และยังใช้นํ้าสร้างเนื้อไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
“ต้นกระดาษบนคันนา” เริ่มต้นจาก คิดต่าง สู่การ สร้างสรรค์ประโยชน์ ต่อโลก ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
ปรัชญาในการทำกระดาษของดั๊บเบิ้ล เอ …“เราไม่เพียงทำกระดาษคุณภาพดีให้คุณใช้ แต่ต้องดีตั้งแต่เนื้อใน ‘ดี’ ตั้งแต่วิธีคิด-วิธีทำ
ได้ริเริ่มแนวคิด “ปลูกต้นกระดาษบนคันนา” เพื่อนำมาใช้ทำกระดาษ แทนการใช้ไม้จากป่าธรรมชาติหรือแม้แต่ไม้จากการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ โดยนอกจากจะไม่รบกวนไม้ธรรมชาติของโลกแล้ว ยังช่วยรักษาความหลากหลายของระบบนิเวศโดยไม่แย่ง
พื้น ที่เพาะปลูกพืชหลัก ที่สำคัญยังช่วยให้ชาวนามีทั้ง “รายได้หลักจากการปลูกข้าว และรายได้เสริมจากการปลูกต้นกระดาษ”
นอกจากสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกรกว่า 1.5 ล้านครอบครัวแล้ว ชิ้นไม้ เปลือกไม้จากต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ (นอกเหนือจากส่วนที่นำไปผลิตเยื่อและกระดาษ) ยังสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลผลิตไฟฟ้าได้ “ช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ปี ละกว่าหมื่นล้านบาท”
- ต้นกระดาษ เติบโตจากการดึง CO2 ในชั้นบรรยากาศมาแปลงเป็นเนื้อไม้ (โดยการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการสังเคราะห์แสง) จึงมีส่วนช่วยเก็บกักCO2 เอาไว้ในรูปของคาร์บอน โดย “ต้นกระดาษ 1 ต้นช่วยดูดซับ CO2 ได้สูงถึง 51.96 kg. และช่วยเก็บกักคาร์บอนในเนื้อไม้ได้สูงสุดถึง 42.5 kg.(เฉลี่ย 14.17 kg./ต้น/ปี) *ที่มา: งานวิจัยสกว.
กว่าจะมาเป็นต้นกระดาษบนคันนา เราเก็บข้อมูล วิเคราะห์ วิจัย เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่ดีที่สุด เหมาะสมกับทุกๆ ฝ่ายๆ และสร้างรายได้หมุนเวียนอย่างยั่งยืนต่อเกษตรกร